เมนู

10. ทุติยหัตถปาทปัพพสูตร


ว่าด้วยการเปรียบเทียบอายตนะกับข้อมือข้อเท้า


[307] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมือทั้ง 2 มี การจับและการวาง
ก็มี เมื่อเท้าทั้ง 2 มี การก้าวไปและถอยกลับก็มี เมื่อข้อทั้งหลายมี
การคู้เข้าและเหยียดออกก็มี เมื่อท้องมี ความหิวและความระหายก็ ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในย่อมเกิดขึ้น
เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อใจมีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายใน
ย่อมเกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ฉันนั้นเหมือนกัน.
[308] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมือทั้ง 2 ไม่มี การจับและ
การวางก็ไม่มี เมื่อเท้าทั้ง 2 ไม่มี การก้าวไปและถอยกลับก็ไม่มี เมื่อข้อ
ทั้งหลายไม่มี การคู้เข้าและเหยียดออกก็ไม่มี เมื่อท้องไม่มี - ความหิว
และความระหายก็ ไม่มี ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจักษุไม่มี สุขและ
ทุกข์อันเป็นภายในไม่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เมื่อใจไม่มี
สุขและทุกข์อันเป็นภายในก็ไม่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ฉันนั้น
เหมือนกัน.
จบ ทุติยหัตถปาทปัพพสูตรที่ 10
สมุททวรรคที่ 3

อรรถกถาทุติยหัตถปาทปัพพสูตรที่ 10


ในทุติยหัตถปาทปัพพสูตรที่ 10 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
เมื่อตรัสว่า น โหติ จึงได้ตรัสด้วยอัธยาศัยของผู้จะตรัสรู้. ก็ใน
สูตรทั้ง 2 นี้ พระองค์ทรงแสดงเฉพาะสุขทุกข์อันเป็นวิบาก แล้วจึง
ทรงแสดงวัฏฏะและวิวัฏฏะแล.
จบ อรรถกถาทุติยหัตถปาทปัพพสูตรที่ 10
จบ อรรถกถาสมุททวรรคที่ 3


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สมุททสูตรที่ 1 2. สมุททสูตรที่ 2 3. พาลิสิกสูตร
4. ขีรรุกขสูตร 5. โกฏฐิกสูตร 6. กามภูสูตร 7. อุทายีสูตร
8. อาทิตตปริยายสูตร 9. หัตถปาทปัพพสูตรที่ 1 10. หัตถปาทปัพพ-
สูตรที่ 2